วันศุกร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ปิโตรเลียม

            คำว่า ปิโตรเลียม มีรากศัพท์มาจากภาษาละตินว่า เพทรา ( Petra) แปลว่า หิน และคำว่า โอลิอุม (Oleum) 
แปลว่า น้ำมัน รวมความแล้วปิโตรเลียมจึงหมายถึง น้ำมันที่ได้มาจากหิน โดยไหลซึมออกมาเองในรูปของของเหลวหรือก๊าซเมื่อแรกพบ

           ปิโตรเลียม คือ สารที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เป็นของผสมของโฮโดรคาร์บอนชนิดต่างๆ ที่ยุ่งยากและซับซ้อน ทั้งที่อยู่ในสภาพของแข็ง ของเหลว และก๊าซ หรือทั้งสามสภาพปะปนกัน แต่เมื่อต้องการจะแยกประเภทออกเป็นปิโตรเลียมชนิดต่างๆ จะใช้คำว่า น้ำมันดิบ (Crude oil) ก๊าซธรรมชาติ (Natural gas) และก๊าซธรรมชาติเหลว (Condensate) โดยปกติน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติมักจะเกิดร่วมกันในแหล่งปิโตรเลียม แต่บางแหล่งอาจมีเฉพาะน้ำมันดิบ บางแหล่งอาจมีเฉพาะก๊าซธรรมชาติก็ได้ ส่วนก๊าซธรรมชาติเหลวนั้นหมายถึง ก๊าซธรรมชาติในแหล่งที่อยู่ลึกลงไปใต้ดินภายใต้สภาพอุณหภูมิและความกดดันที่สูง เมื่อถูกนำขึ้นมาถึงระดับผิวดินในขั้นตอนของการผลิต อุณหภูมิและความกดดันจะลดลง ทำให้ก๊าซธรรมชาติกลายสภาพไปเป็นของเหลว เรียกว่า ก๊าซธรรมชาติเหลว

*พบในชั้นธรณีวิทยาใต้ผิวโลก จำนวนมากทับถมกันใต้หินตะกอนและได้รับความร้อนและความดันมหาศาล
                                         

การกำเนิดเป็นแหล่งปิโตรเลียม
มีองค์ประกอบสำคัญดังนี้

1.หินต้นกำเนิด source rock

หินชั้นหรือหินตะกอน ได้แก่  หินโคลน หินดินดาน และ หินปูน


2.หินกักเก็บ Reservoir rock
หินทราย หินปูน และหินโดโลไมท์

3.หินปิดกั้น Seal or cap rock
หินดินดาน หรือหินตะกอนชนิดอื่นที่มีเนื้อแน่น

การสำรวจแหล่งปิโตรเลียม
                                                                       ทางธรณีวิทยา
-  ทำแผนที่จากภาพถ่ายทางอากาศหรือผ่านดาวเทียม

      - ใช้การสำรวจทางธรณีวิทยาเริ่มด้วยการทำแผนที่ของบริเวณที่สำรวจโดยอาศัยภาพถ่ายทางอากาศ (Aerial Photograph) เพื่อให้ทราบว่าบริเวณใดมีโครงสร้างทางธรณีวิทยาน่าสนใจจากนั้นนักธรณีวิทยาจะเข้าไปทำการสำรวจเก็บตัวอย่างชนิดของหินและซากพืชซากสัตว์ (Fossils) ซึ่งอยู่ในหินเพื่อจะได้ทราบอายุ ประวัติความเป็นมาของบริเวณนั้นและวัดแนวทิศทางความเอียงเทของชั้นหินเพื่อคะเนหาแหล่งกักเก็บของปิโตรเลียม
- เก็บตัวอย่างหินเพื่อดูชนิดและลักษณะหิน ซากพืชซากสัตว์ในหิน 

- วัดแนวทิศทางและความเอียงเทของชั้นหิน



                    การสำรวจในขั้นนี้จะเริ่มต้นด้วยการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสภาพธรณีวิทยาของพื้นที่ และบริเวณใกล้เคียง ซึ่งได้มีการดำเนินการมาก่อนแล้ว เพื่อประเมินผล สำหรับการสำรวจเพิ่มเติมต่อไป ถ้าพื้นที่สำรวจเป็นพื้นที่บนบก นักธรณีวิทยาจะต้องศึกษาสภาพธรณีวิทยาของพื้นที่ การใช้ภาพถ่ายทางอากาศ และภาพถ่ายจากดาวเทียม ช่วยพิจารณาลักษณะโครงสร้างทางธรณีวิทยา (Geological structure) ของพื้นที่การสำรวจภาคสนามเพื่อตรวจสอบหินที่โผล่ให้เห็นบนพื้นผิว การตรวจวิเคราะห์อายุหิน การวิเคราะห์ตัวอย่างหินทางธรณีเคมี (Geochemical analysis) เพื่อหาหินต้นกำเนิดปิโตรเลียม (Source rock) และวิเคราะห์คุณสมบัติทางกายภาพของหิน การประเมินผลการสำรวจทางธรณีวิทยา ทำให้สามารถกำหนดขอบเขตของพื้นที่ ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะมีความเป็นไปได้ทางด้านหินต้นกำเนิดปิโตรเลียม หินกักเก็บปิโตรเลียม (Reservoir rock) ซึ่งจะกลายเป็นแหล่งปิโตรเลียมต่อไปได้ 



ทางธรณีฟิสิกส์
เพื่อให้ทราบโครงสร้างของหินและลักษณะของชั้นต่างๆใต้พื้นผิวโลก
1. วิธีวัดคลื่นความสั่นสะเทือน
2. วิธีวัดค่าสนามแม่เหล็ก
3. วิธีวัดค่าความโน้มถ่วงของโลก


เพิ่มเติม
                                                                                      อยากรู้เยอะมาเรียนที่นี่ คลิก

การขุดเจาะ คลิกเลย...*-*
การกลั่นลำดับส่วน คลิกเลย.....*-*
การนำปิโตเลียมมาใช้ประโยชน์คลิกเลย.....*-*

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น