การนำปิโตเลียมมาใช้ประโยชน์

ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการแยกก๊าซธรรมชาติและการกลั่นน้ำมันดิบส่วนใหญ่นำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงชนิดต่างๆๆๆดังนี้


    น้ำมันเบนซิน

                   น้ำมันเบนซินหรือก๊าซโซลีน (Gasoline) เป็นเชื้อเพลิงที่ระเหยได้ง่าย ได้มาจากการกลั่นน้ำมันดิบในโรงกลั่น โดยกลั่น หรือ ตัดเอาส่วนที่เบาพอเหมาะจากส่วนต่างๆ ในกรรมวิธีการกลั่น แล้วเอามาผสมกันและปรุงแต่งด้วยสารเพิ่มคุณภาพต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น แนฟธา (Naphtha), Isomerate, Reformate และสารเติมแต่ง (Additives) เช่น MTBE (Methyl Tertiary Butyl Ether), เอทานอล เป็นต้น เพื่อให้เหมาะสมแก่การใช้เป็นเชื้อเพลิงของเครื่องยนต์เบนซินชนิดสันดาปภายในโดยมีหัวเทียนเป็นเครื่องจุดระเบิด




    น้ำมันดีเซล

น้ำมันดีเซล (อังกฤษ: Diesel fuel) คือ น้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล เป็นส่วนหนึ่งของน้ำมันดิบที่ได้จากโรงกลั่นน้ำมัน (เช่นเดียวกับน้ำมันเบนซิน) ซึ่งเป็นน้ำมันที่เรียกว่า น้ำมันใส มีจุดเดือดอยู่ที่ประมาณ 180-370 องศาเซลเซียส เครื่องยนต์ดีเซลเป็นเครื่องยนต์ที่มีแรงอัดสูง (High Compression) และ สามารถจุดระเบิดได้เอง การจุดระเบิดของเชื้อเพลิงชนิดนี้เกิดขึ้นมาจากความร้อนของแรงอัดสูงของอากาศในกระบอกสูบ โดยไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้หัวเทียนน้ำมันดีเซลที่ใช้งานอาจแบ่งตามคุณสมบัติที่ใช้ คือน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้กับเครื่องยนต์ที่มีความเร็วรอบสูง มีความเร็วเกิน 1,000 รอบต่อนาทีขึ้นไป  เช่น รถยนต์เครื่องยนต์ดีเซล'น้ำมันดีเซลหมุนช้า เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้กับเครื่องยนต์ที่มีความเร็วรอบต่ำ จะต่ำกว่า 1,000 รอบต่อนาที เช่น เครื่องจักรโรงงาน



แก๊สโซฮอล์

น้ำมันแก๊สโซฮอล์ (อังกฤษ: Gasohol) (สะกดตามราชบัณฑิตยสถานว่า แกโซฮอล) หรือที่นิยมเรียกว่า E10 คือน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับรถยนต์ ที่เกิดจากการผสมระหว่าง น้ำมันเบนซิน 90% กับ แอลกอฮอล์ 10% (ได้แก่ เอทานอล) ในภาษาอังกฤษไม่เรียกน้ำมันเชื้อเพลิงว่า เบนซิน แต่จะเรียกว่า แก๊สโซลีน (Gasoline) ดังนั้น จึงเป็นที่มาของคำศัพท์ว่า แก๊สโซฮอล์ นั่นคือ Gasoline + alcohol
น้ำมันแก๊สโซฮอล์ได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อเป็นพลังงานทางเลือกทดแทนน้ำมันเบนซิน น้ำมันผสมชนิดนี้มีใช้กันในหลายประเทศทั่วโลก ข้อดีของแก๊สโซฮอล์คือ การเผาไหม้ที่สมบูรณ์ขึ้น เนื่องจากโครงสร้างทางเคมีของแอลกอฮอล์ ทำให้ลดมลพิษในอากาศ และในขณะเดียวกันราคาของน้ำมันแก๊สโซฮอล์ มีราคาต่ำกว่า น้ำมันเบนซินโดยทั่วไป
สำหรับน้ำมันแก๊สโซฮอล์นั้นมีองค์ประกอบต่างกับน้ำมันเบนซิน คือน้ำมันเบนซินมี เอมทีบีอี (MTBE) เป็นตัวเพิ่มออคเทน ส่วนน้ำมันแก๊สโซฮอล์ใช้เอทานอล เป็นตัวเพิ่มออคเทน เอทานอลให้พลังงานน้อยกว่าเอมทีบีอี (MTBE) โดยต่างกันอยู่ร้อยละ 1.6-1.8 การใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์นั้นออกซิเจนที่เป็นส่วนประกอบอยู่ในเอทานอล จะช่วยให้การเผาไหม้ภายในห้องเครื่องสมบูรณ์ขึ้นอีก และลดปริมาณก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ที่จะปล่อยออกมาจากท่อไอเสีย



แก๊สธรรมชาติอัด

แก๊สธรรมชาติอัด (อังกฤษCompressed Natural Gas, CNG) เป็นเชื้อเพลิงจากซากดึกดำบรรพ์อีกชนิดหนึ่งเช่นเดียวกับ น้ำมันเบนซิน น้ำมันดีเซล และ แก๊สปิโตรเลียมเหลวสำหรับใช้เป็นพลังงานสะอาดทดแทนการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงปกติ มีใช้กับพาหนะได้ เช่น รถยนต์ รถบรรทุก รถตู้ รถประจำทาง เป็นต้น ราคาถูกกว่าน้ำมัน และ ช่วงที่น้ำมันมีราคาสูงมาก จึงมีผู้นิยมใช้เพิ่มขึ้นอย่างสูง



แก๊สปิโตเลียมเหลว

แก๊สปิโตรเลียมเหลว หรือ แอลพีจี (อังกฤษ: liquefied petroleum gas: LPG) จัดเป็นเชื้อเพลิงอีกชนิดหนึ่งที่มาจากซากดึกดำบรรพ์ (อังกฤษ: fossil fuel) เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการแยกน้ำมันดิบในโรงกลั่นน้ำมันหรือการแยกแก๊สธรรมชาติ ในโรงแยกแก๊สธรรมชาติ ซึ่งประกอบด้วยส่วนผสมของไฮโดรคาร์บอน 2 ชนิด คือ โพรเพนและบิวเทนไม่มีกลิ่น ไม่มีสี ปราศจากพิษ หนักกว่าอากาศ ติดไฟได้ในช่วงของการติดไฟที่ 2–15 % ของปริมาณในอากาศ และอุณหภูมิที่ติดไฟได้เองคือ 400 องศาเซลเซียส
ในประเทศไทยแก๊สหุงต้มส่วนใหญ่ได้จากการกลั่นน้ำมัน โดยใช้อัตราส่วนผสมของโพรเพน และบิวเทนประมาณ 70:30 ซึ่งจะให้ค่าความร้อนที่สูง
แก๊สปิโตรเลียมเหลวสามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงในการประกอบอาหารในครัวเรือน จึงเรียกกันว่า แก๊สหุงต้ม สามารถใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมและยานพาหนะได้



น้ำมันก๊าด

เคโรซีน (อังกฤษ: Kerosene) ในประเทศไทยเรียกว่า น้ำมันก๊าด เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดหนึ่ง เป็นสารผสมของไฮโดรคาร์บอนที่มีจุดเดือดตั้งแต่ 150-300 องศาเซลเซียส ประกอบด้วยพาราฟินแนฟธาและอะโรมาติกส์
เคโรซีนใช้ประโยชน์ในโรงงานอุตสาหกรรม เครื่องบินไอพ่น และกิจการบินพาณิชย์ ซึ่งต้องการการเผาไหม้ที่สะอาด และยังใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องทำความร้อน ในประเทศเมืองหนาว
เคโรซีนเป็นของเหลวใส ไม่มีสี โดยทั่วไปจะวางจำหน่ายโดยบรรจุในภาชนะสีน้ำเงิน หรือเติมสีย้อมสีน้ำเงิน




น้ำมันเตา

น้ำมันเตา เป็น ผลิตภัณฑ์ที่เหลือจากที่ได้จาการกลั่นปิโตรเลียม โดยนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับเรือและอุตสาหกรรม น้ำมันชนิดนี้ถูกออกแบบมาเพื่อใช้สำหรับการให้ความร้อน และใช้สำหรับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าชนิดดีเซลรอบต่ำ นอกจากนี้ยังสามารถใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลรอบปานกลาง น้ำมันเตาช่วยลดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ จากการเผาไหม้ที่ออกสู่บรรยากาศของโรงงานอุตสาหกรรม



ยางมะตอย


ยางมะตอย  เป็นวัสดุที่สกัดจากน้ำมันดิบ มีสีดำ มีลักษณะเหนียวและความหนืดต่ำ ยางมะตอยนิยมมาใช้ในงานก่อสร้างถนน โดยใช้เป็นวัสดุผิวหน้า ซึ่งคุณสมบัติที่สำคัญของยางมะตอยทำหน้าที่ประสานระหว่างวัสดุเติมเช่นหินและทราย เข้าเป็นเนื้อเดียวกัน โดยวัสดุที่นำมาใช้ในการเทผิวหน้าถนนจะเรียกชื่อเต็มว่า แอสฟอลต์คอนกรีต (asphalt concrete) และมักย่อว่า แอสฟอลต์
ภาษาอังกฤษเรียกยางมะตอยว่า แอสฟอลต์ (อเมริกัน) หรือ แอสแฟลต์ (บริเตน) (asphalt) ซึ่งมาจากภาษากรีกคำว่า άσφαλτος (asphaltos) ส่วนภูมิภาคอื่นอาจเรียกว่า ไบทูเมน, ไบทิวเมน, บิทูเมน, บิชูเมน (bitumen)



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น