คำว่า ปิโตรเลียม มีรากศัพท์มาจากภาษาละตินว่า เพทรา ( Petra) แปลว่า หิน และคำว่า โอลิอุม (Oleum)
แปลว่า น้ำมัน รวมความแล้วปิโตรเลียมจึงหมายถึง น้ำมันที่ได้มาจากหิน โดยไหลซึมออกมาเองในรูปของของเหลวหรือก๊าซเมื่อแรกพบ
ปิโตรเลียม คือ สารที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เป็นของผสมของโฮโดรคาร์บอนชนิดต่างๆ ที่ยุ่งยากและซับซ้อน ทั้งที่อยู่ในสภาพของแข็ง ของเหลว และก๊าซ หรือทั้งสามสภาพปะปนกัน แต่เมื่อต้องการจะแยกประเภทออกเป็นปิโตรเลียมชนิดต่างๆ จะใช้คำว่า น้ำมันดิบ (Crude oil) ก๊าซธรรมชาติ (Natural gas) และก๊าซธรรมชาติเหลว (Condensate) โดยปกติน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติมักจะเกิดร่วมกันในแหล่งปิโตรเลียม แต่บางแหล่งอาจมีเฉพาะน้ำมันดิบ บางแหล่งอาจมีเฉพาะก๊าซธรรมชาติก็ได้ ส่วนก๊าซธรรมชาติเหลวนั้นหมายถึง ก๊าซธรรมชาติในแหล่งที่อยู่ลึกลงไปใต้ดินภายใต้สภาพอุณหภูมิและความกดดันที่สูง เมื่อถูกนำขึ้นมาถึงระดับผิวดินในขั้นตอนของการผลิต อุณหภูมิและความกดดันจะลดลง ทำให้ก๊าซธรรมชาติกลายสภาพไปเป็นของเหลว เรียกว่า ก๊าซธรรมชาติเหลว
*พบในชั้นธรณีวิทยาใต้ผิวโลก จำนวนมากทับถมกันใต้หินตะกอนและได้รับความร้อนและความดันมหาศาล
*พบในชั้นธรณีวิทยาใต้ผิวโลก จำนวนมากทับถมกันใต้หินตะกอนและได้รับความร้อนและความดันมหาศาล
การกำเนิดเป็นแหล่งปิโตรเลียม
มีองค์ประกอบสำคัญดังนี้
1.หินต้นกำเนิด source rock
หินชั้นหรือหินตะกอน ได้แก่ หินโคลน หินดินดาน และ หินปูน
1.หินต้นกำเนิด source rock
หินชั้นหรือหินตะกอน ได้แก่ หินโคลน หินดินดาน และ หินปูน
2.หินกักเก็บ Reservoir rock
หินทราย หินปูน และหินโดโลไมท์
3.หินปิดกั้น Seal or cap rock
หินดินดาน หรือหินตะกอนชนิดอื่นที่มีเนื้อแน่น
การสำรวจแหล่งปิโตรเลียม
ทางธรณีวิทยา
- ทำแผนที่จากภาพถ่ายทางอากาศหรือผ่านดาวเทียม
- ใช้การสำรวจทางธรณีวิทยาเริ่มด้วยการทำแผนที่ของบริเวณที่สำรวจโดยอาศัยภาพถ่ายทางอากาศ (Aerial Photograph) เพื่อให้ทราบว่าบริเวณใดมีโครงสร้างทางธรณีวิทยาน่าสนใจจากนั้นนักธรณีวิทยาจะเข้าไปทำการสำรวจเก็บตัวอย่างชนิดของหินและซากพืชซากสัตว์ (Fossils) ซึ่งอยู่ในหินเพื่อจะได้ทราบอายุ ประวัติความเป็นมาของบริเวณนั้นและวัดแนวทิศทางความเอียงเทของชั้นหินเพื่อคะเนหาแหล่งกักเก็บของปิโตรเลียม
- เก็บตัวอย่างหินเพื่อดูชนิดและลักษณะหิน
ซากพืชซากสัตว์ในหิน
การสำรวจในขั้นนี้จะเริ่มต้นด้วยการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสภาพธรณีวิทยาของพื้นที่ และบริเวณใกล้เคียง ซึ่งได้มีการดำเนินการมาก่อนแล้ว เพื่อประเมินผล สำหรับการสำรวจเพิ่มเติมต่อไป ถ้าพื้นที่สำรวจเป็นพื้นที่บนบก นักธรณีวิทยาจะต้องศึกษาสภาพธรณีวิทยาของพื้นที่ การใช้ภาพถ่ายทางอากาศ และภาพถ่ายจากดาวเทียม ช่วยพิจารณาลักษณะโครงสร้างทางธรณีวิทยา (Geological structure) ของพื้นที่การสำรวจภาคสนามเพื่อตรวจสอบหินที่โผล่ให้เห็นบนพื้นผิว การตรวจวิเคราะห์อายุหิน การวิเคราะห์ตัวอย่างหินทางธรณีเคมี (Geochemical analysis) เพื่อหาหินต้นกำเนิดปิโตรเลียม (Source rock) และวิเคราะห์คุณสมบัติทางกายภาพของหิน การประเมินผลการสำรวจทางธรณีวิทยา ทำให้สามารถกำหนดขอบเขตของพื้นที่ ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะมีความเป็นไปได้ทางด้านหินต้นกำเนิดปิโตรเลียม หินกักเก็บปิโตรเลียม (Reservoir rock) ซึ่งจะกลายเป็นแหล่งปิโตรเลียมต่อไปได้
ทางธรณีฟิสิกส์
เพื่อให้ทราบโครงสร้างของหินและลักษณะของชั้นต่างๆใต้พื้นผิวโลก
1. วิธีวัดคลื่นความสั่นสะเทือน
2. วิธีวัดค่าสนามแม่เหล็ก
เพิ่มเติม
อยากรู้เยอะมาเรียนที่นี่ คลิก
การขุดเจาะ คลิกเลย...*-*
การกลั่นลำดับส่วน คลิกเลย.....*-*
การนำปิโตเลียมมาใช้ประโยชน์คลิกเลย.....*-*